พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก โดยมี คณะองคมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย รองนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงพนักงานและลูกจ้างการทางพิเศษฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางจากภาคใต้สู่กรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย พร้อมทั้งลดปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนพระรามที่ 2 และทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณด่านฯ ดาวคะนอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

สะพานทศมราชัน มีลักษณะเป็นสะพานขึงที่มีความกว้างมากที่สุดในประเทศไทย ขนาด 4 ช่องจราจรต่อทิศทาง มีความยาวรวม 781.20 เมตร ความยาวช่วงกลางที่ยาวถึง 450 เมตร โดยมีงบประมาณค่าก่อสร้างเป็นเงิน 6,636,192,131.80 บาท ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้านการออกแบบงานสถาปัตยกรรม โดยได้รวบรวมข้อมูลจากพระราชประวัติ คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี นำมาเป็นแรงบันดาลใจในการกำหนดแนวคิดในการออกแบบผลงานเพื่อเทิดพระเกียรติ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 อาทิ ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระองค์ สายเคเบิลเป็นสีเหลืองเพื่อสื่อถึงวันพระราชสมภพของพระองค์ คือวันจันทร์ พญานาค ราศีประจำปีพระราชสมภพของพระองค์ คือ ปีมะโรงงูใหญ่ (พญานาค) รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบสื่อให้เป็นต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์ และราวกันตกริมด้านนอกสุดของสะพาน ออกแบบให้ดูโปร่งโดยใช้วัสดุ Stainless ทั้งนี้ สะพานทศมราชันยังสามารถรับแรงลมที่กระทบตัวสะพานได้สูงสุด 270 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดสะพานทศมราชัน

“ในโอกาสอันเป็นมงคลยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสะพานดังกล่าวว่า “สะพานทศมราชัน” หมายถึงพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ สะพานทศมราชัน ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มแก่ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างการทางพิเศษแห่งประเทศไทยรวมถึงประชาชนทุกหมู่เหล่าในพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ สะพานทศมราชันจะช่วยเสริมความสมบูรณ์ให้กับโครงข่ายทางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางและขนส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ได้บางส่วนภายในเดือนมกราคม 2568” นายสุรเชษฐ์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.exat.co.th

#สะพานทศมราชัน
#ทางพิเศษเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
#องค์กรนวัตกรรมเพื่อการเดินทางและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
#อัปเดตเรื่องราวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

Previous

Next

Submit a Comment